ahr0chm6ly9zlmlzyw5vb2suy29tl3nwlzavdwqvmja2lzewmzm0ntgvzygxks5qcgc

ตามที่ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท ไทยลีก จำกัด ได้ดำเนินการจัดการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยช้าง เอฟเอคัพ 2019 นัดชิงชนะเลิศ โดยมีข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. กรณีเปลี่ยนสนามแข่งขันเกมนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วย ช้าง เอฟเอคัพ 2019

ข้อที่ 1 เดิมผู้สนับสนุนกำหนดสนามนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วย ช้าง เอฟเอคัพ 2019 ไว้ที่สนามสุพรรณบุรี สเตเดียม

ข้อที่ 2 เมื่อทราบคู่ชิงชนะเลิศแล้ว ผู้สนับสนุนขอเปลี่ยนสนาม เพื่อความเหมาะสมและความสะดวกในการเดินทางของแฟนบอลทั้งสองสโมสร ซึ่งได้ข้อสรุปตรงกันว่าจะย้ายมาแข่งในโซน กทม.และปริมณฑลแทน

ข้อที่ 3 ผู้สนับสนุน พิจารณาเลือกสนามแข่งขันที่สนามกีฬากองทัพบก โดยมีอีก 2 สนาม คือ สนามไทยญี่ปุ่นดินแดง และ สนามบีจี ปทุม เป็นตัวเลือกสำรอง

ข้อที่ 4 ระหว่างรอการพิจารณาเลือกสนามแข่งขันจากผู้สนับสนุน สมาคมฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้ VAR ในเกมนัดชิงชนะเลิศดังกล่าว สมาคมฯจึงได้เตรียมความพร้อมและวางระบบ เพื่อทดสอบการใช้ VAR สำหรับสนามที่จะใช้ทำการแข่งขันที่สนามกีฬากองทัพบกก่อน

ข้อที่ 5 เมื่อได้รับแจ้งจากสนามกีฬากองทัพบก ว่าสนามไม่สามารถใช้ได้ สุดท้ายได้ข้อสรุปที่สนามบีจี ปทุม

ข้อที่ 6 สมาคมฯ จึงเตรียมความพร้อมจัดการแข่งขัน และทดสอบการใช้ VAR ที่สนามบีจี ปทุม

2.กรณีข้อสงสัยว่าทำไมจึงใช้กรรมการชุดนี้ตัดสินในสนาม และในห้อง VAR

ข้อที่ 1 ตามที่ทราบกันดีว่าเกมนัดชิงชนะเลิศดังกล่าว ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้เทคโนโลยี VAR แบบเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก

ข้อที่ 2 ผู้ตัดสิน และผู้ช่วยผู้ตัดสินของไทย เข้าอบรมและทดสอบเก็บชั่วโมงในการใช้ VAR จากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะและอยู่ในช่วงของการพิจารณาใบอนุญาตการทำหน้าที่

ข้อที่ 3 การเลือกผู้ตัดสินทำหน้าที่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ตัดสินในสนาม และผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ในห้อง VAR

ข้อที่ 4 สมาคมฯ ได้สอบถามไปยัง เดวิด เอลเลเรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ IFAB ที่ทำการอบรมการใช้เทคโนโลยี VAR ตามโครงการ VAR Training Thailand ให้กับผู้ตัดสินชาวไทยเสร็จสิ้นไป โดยได้รับคำแนะนำว่า เกมนัดชิงเอฟเอคัพเป็นเกมสำคัญและเกมแรกที่ใช้ VAR ผู้ทำหน้าที่ในห้อง VAR จะต้องมีความชำนาญและที่มีความเหมาะสมที่สุด ณ เวลานี้ โดยได้รับคำแนะนำ ดังนี้

1.ผู้ตัดสินในสนาม คือ ชัยฤกษ์ งามสม

2.ผู้ทำหน้าที่ VAR คือ ศิวกร ภูอุดม เป็นผู้ที่มีความรู้และชำนาญมากที่สุดในการใช้ VAR และการสื่อสารกับผู้ตัดสินในสนามแข่งขัน

3.ผู้ทำหน้าที่ AVAR1 คือ ราวุฒิ นาคฤทธิ์ เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินที่มีความรอบรู้และชำนาญในการทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้ตัดสินในห้อง VAR

4.ผู้ทำหน้าที่ AVAR2 คือ ต่อพงษ์ สมสิงห์ เป็นผู้ที่ช่วยตรวจสอบเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เข้าข่ายตามข้อกำหนดการเรียกใช้ VAR

ทั้งนี้ สมาคมฯ จะต้องยืนยันรายชื่อผู้ทำหน้าที่ในเกมดังกล่าวภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เพื่อให้ทาง IFAB รับรองสำหรับแมตช์ทางการครั้งนี้ล่วงหน้า

3.กรณีการฝึกซ้อม Official training ในสนามแข่งขันจริง

ข้อที่ 1 ตามข้อกำหนดของระเบียบจัดการแข่งขัน นั้น ฝ่ายจัดการแข่งขันได้รับมอบสนามก่อน 2 วัน และมีการดำเนินตามระเบียบอย่างเคร่งครัดในช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อที่ 2 ฝ่ายจัดการแข่งขันได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของระเบียบจัดการแข่งขัน โดยทั้ง 2 สโมสร ลงฝึกซ้อม Official training ระยะเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนวันแข่งขัน 1 วัน เพียง 1 ครั้ง เท่านั้น

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมัคร เว็บแทงบอล UFABET คลิ๊ก >> http://line.me/ti/p/~@UFAXD

screenshot 1 1 1